คณะวิทย์กีฬา จุฬา รับ ‘โตโน่’ ใช้อุโมงค์น้ำฟรี เปิดเหตุผล ทำไมไม่คิดค่าใช้จ่าย

คณะวิทย์กีฬา จุฬา รับ ‘โตโน่’ ใช้อุโมงค์น้ำฟรี เปิดเหตุผล ทำไมไม่คิดค่าใช้จ่าย

คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาฯ ยอมรับว่า โตโน่ใช้อุโมงค์น้ำฟรี ตอนแรกจะคิดค่าใช้จ่ายแต่อุโมงค์น้ำยังไม่เรียบร้อยดี และเห็นเป็นกิจกรรมการกุศล จึงยกเว้น คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความเฟซบุ๊ก ชี้แจงกรณีดราม่า โตโน่ ภาคิน คำวิลัยศักดิ์ ที่ได้ใช้อุโมงค์น้ำของคณะ เพื่อเตรียมความพร้อม ว่ายแม่น้ำข้ามโขง 22 ต.ค. 2565 จนทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ไปต่างๆนา เพราะนิสิตบางคนได้กล่าวว่าตนยังไม่เคยได้ใช้ด้วยซ้ำ

สำหรับประเด็นดราม่าโตโน่นี้ทาง คณะวิทยาศาสตร์อธิบายว่า “ตามที่มีกระแสสื่อโซเชียลเกี่ยวกับอุโมงค์​น้ำ (Water Fume) ของคณะฯในตอนนี้ ขออนุญาต​ชี้แจงข้อเท็จจริงดังนี้

1. อุโมงค์น้ำจุฬาได้นำมาใช้กับนิสิตและการเรียนสอนหรือไม่ 

“ได้ใช้”

อุโมงค์​น้ำมีการติดตั้งตั้งแต่ พ.ศ. 2560 มีการใช้งานด้านการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษา และนิสิตที่สนใจทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพทางการกีฬา ก็มีการใช้อุโมงค์น้ำมาโดยตลอด นอกจากนี้ยังมีการใช้เพื่อการวิจัยและการบริการวิชาการ ได้แก่ใช้ในการฝึกซ้อมให้แก่นักกีฬา นักกีฬาทีมชาติ เป็นต้น ในระดับปริญญาตรี นิสิตจะได้เรียนรู้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์การกีฬาที่ทันสมัยของคณะที่หลากหลาย อันได้แก่ เครื่องวิเคราะห์แก๊สเพื่อทดสอบสมรรถภาพของหัวใจและปอด เครื่อง Isokinetic เพื่อทดสอบสมรรถภาพกล้ามเนื้อ ห้อง Hypoxia เพื่อจำลองการปรับสภาพร่างกายบนที่สูง เป็นต้นตามบริบทเนื้อหารายวิชาของหลักสูตร แต่ด้วยจำนวนเครื่องแค่ 1 เครื่อง และมีนิสิตเป็นจำนวนมาก จึงอาจได้แค่เรียนภาคทฤษฎีและสาธิต หากนิสิตระดับปริญญาตรีสนใจเป็นพิเศษในเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์การกีฬาใดๆ นิสิตก็สามารถเข้าร่วมเป็นผู้ช่วยวิจัยในการเก็บข้อมูลเพื่อเรียนรู้ในการปฏิบัติได้

2. บุคคลทั่วไปสามารถใช้อุโมงค์น้ำได้หรือไม่

“ได้”

ผู้ที่สนใจใช้งานอุโมงค์​น้ำสามารถใช้ได้ โดยผ่านการทำเรื่องขอใช้อุโมงค์​น้ำมาที่คณะฯ ซึ่งในช่วงที่ก่อนโควิดอุโมงค์น้ำได้ถูกใช้อยู่เป็นประจำ ไม่ได้จำกัดการใช้แต่อย่างใด หากการขอให้เป็นไปตามระเบียบของคณะฯ ทั้งนี้ อุปกรณ์ปฏิบัติการต่างๆของคณะ บุคคลทั่วไปก็สามารถทำเรื่องขอใช้มาที่คณะเพื่อพิจารณาการอนุมัติใช้ได้

3. ได้ให้บุคคลภายนอก คือ คุณภาคินใช้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใช่หรือไม่

“ใช่”

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา อุโมงค์​น้ำมีการชำรุดและต้องการการซ่อมแซม หลังจากสถานการณ์​การระบาดของโรคโควิดคลี่คลาย คณะจึงได้ทำการซ่อมแซม​เพื่อใช้สำหรับการเรียน​การสอน การทำวิจัย และการบริการวิชาการ ซึ่งในขณะที่มีการซ่อมแซม​อุโมงค์​น้ำนั้นทางคณะได้รับการติดต่อจากทีมงานของคุณภาคิน เพื่อขอรับบริการการทดสอบสมรรถภาพ​ทางกายและขอใช้อุโมงค์​น้ำเพื่อฝึกซ้อม

ในเบื้องต้นคณะมีความตั้งใจที่จะคิดค่าใช้จ่ายตามระเบียบ แต่เมื่อใช้งานจริง ทางคณะเห็นว่าอุโมงค์น้ำยังไม่เรียบร้อย​ดี (โดยจะเห็นได้จากน้ำในอุโมงค์​น้ำมีตะกอนและมีความขุ่นเป็นอย่างมาก)​ ทั้งหนังสือขอความอนุเคราะห์นั้นแจ้งมาอย่างชัดเจนว่ากิจกรรมที่จะเกิดขึ้นเป็นกิจกรรมเพื่อการกุศล คณะฯจึงพิจารณา​ให้ความอนุเคราะห์​ในการเข้ามาใช้บริการอุโมงค์น้ำโดยยกเว้นค่าใช้จ่ายตามประกาศให้เป็นกรณีพิเศษ

แพทย์ เตรียมศึกษาผลทดลองใช้ สารสกัดกัญชา ลดอาการถอนยาบ้า

กรมการแพทย์ เผยเตรียมศึกษาผลทดลองใช้ สารสกัดกัญชา หยอดใต้ลิ้น เชื้อสามารถลดอาการถอนยาบ้า ลดติดซ้ำ แก้ปัญหายาเสพติดในประเทศไทย

นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร รักษาราชการแทนอธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่าจะมีการทำแผนการศึกษาทดลองใช้สารสกัดกัญชาหรือ CBD หยอดใต้ลิ้น เพื่อลดอาการวิตกกังวล ช่วยให้นอนหลับ และลดอาการทางจิต กับผู้ติดยาเสพติด หลังจากที่ สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยา(สบยช.) และ รพ.ธัญญารักษ์ 6 แห่ง เห็นตรงกันว่ามีประโยชน์จริง

พร้อมเปรียบเทียบเหมือนกับการใช้ยา Bupropion ซึ่งเป็นยาต้านซึมเศร้าที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการถอนยาเมทแอมเฟตามีน

“หวังว่าผลการศึกษาวิจัยครั้งนี้ จะสามารถใช้ CBD เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการบำบัดรักษาผู้ติดยาบ้า ลดการกลับไปเสพซ้ำ เพิ่มคุณภาพชีวิต ลดการนำเข้ายารักษาจากต่างประเทศ เนื่องจากการวิจัยนี้ใช้ CBD ที่ผลิตได้ในไทย นอกจากนี้ สามารถศึกษาต่อยอด โดยหากออกแบบมาเพื่อใช้ทดแทนเมทแอมเฟตามีนได้ ถือว่าเป็นการใช้ CBD เพื่อบำบัดผู้ติดเมทแอมเฟตามีน ตามแนวทางของการลดอันตรายจากการใช้ยาหรือ Harm reduction” นพ.ธงชัย กล่าว

ทั้งนี้ นพ.ธงชัย เผยว่ายาบ้าเป็นปัญหาหลักของประเทศไทย โดยจากข้อมูลจากระบบการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด มีผู้เสพเข้ารับการบำบัดรักษาปีละ 2 แสนราย เป็นผู้ใช้ยาบ้าสูงสุด 75% ปัจจุบันพบว่าอาการทางจิตจากยาบ้ามีแนวโน้มรุนแรงและพบได้มากขึ้น ยังไม่มียาที่มีประสิทธิภาพดีพอในการรักษา ทำให้ผู้ป่วยเสพยาซ้ำและก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา

แนะนำ : เคล็ดลับต่างๆ | เว็บรวมวิธีต่างๆ How to | จัดอันดับซีรีย์ | รีวิวครีม